ขอกู้สินเชื่อบ้าน – ที่พักอาศัย “ผ่านไม่ผ่าน” มีเกณฑ์ตัดสินยังไง ?
อยากซื้อบ้าน…แต่ไม่รู้ว่าทำยังไงให้ธนาคารอนุมัติดี สำหรับคนที่กำลังคิดจะยื่นขอสินเชื่อบ้าน-ที่พักอาศัย ลองอ่านบทความนี้กันดูค่ะ มีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำ ซึ่งหากคุณทราบขั้นตอน และ หลักเกณฑ์การตัดสินใจของธนาคารดีแล้ว คุณจะได้มั่นใจว่า สินเชื่อของคุณจะได่รับการอนุมัติหรือไม่ หรือ หากมั่นใจว่าคุณไม่ผ่านเกณฑ์ จะได้ไม่ต้องส่งคำขออนุมัติให้เสียดายเวลา และสุดท้ายมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ การกู้ร่วมกัน มาฝากด้วยค่ะ
หลักเกณฑ์การพิจารณามีดังต่อไปนี้:
1. ความสามารถในการชำระหนี้ของคุณมีแค่ไหน
ธนาคารผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาจากรายได้ ในกรณีที่มีผู้กู้ร่วม ก็จะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาคำนวณด้วย และส่วนมากจะให้กู้เป็นวงเงินสูงสุดประมาณ 30 – 40 เท่าของรายได้ ซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ทั้งนั้นธนาคารจะนำอาชีพของผู้กู้มาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งถ้าเป็นอาชีพที่มั่นคงก็อาจได้รับการอนุมัติวงเงินสูงกว่า และยังพิจารณาไปถึงหนี้สินต่อรายได้ต่อเดือนของคุณ ซึ่งปกติแล้วทางธนาคารอาจไม่อนุมัติหากอัตราหนี้สินต่อรายได้ปัจจุบันของคุณเกิน 40%
2. ความเหมาะสมของหลักประกัน
มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่คุณต้องการซื้อส่งผลต่อการอนุมัติของธนาคาร หากเป็นอาคารที่มีมูลค่าทางตลาดสูง ตั้งอยู่ในทำเลดี และหากทำประกันให้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็อาจเพิ่มโอกาสการได้รับอนุมัติสินเชื่อเช่นกัน
3. คุณสมบัติของผู้กู้
อายุและประวัติส่วนตัวของคุณก็มักถูกใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ตั้งแต่อาชีพไปถึงอายุ ซึ่งอายุของคุณเมื่อครบเวลาผ่อนชำระต้องไม่เกิน 70 ปี รวมไปถึงเครดิตสกอร์จากเครดิตบูโร ถ้าอยู่ในระดับที่ดีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาก็สูงขึ้นไปอีก
เกร็ดความรู้หากจะกู้ร่วม!
คุณรู้หรือไม่ ในกรณีที่อีกฝ่ายหนีหนี้หรือไม่จ่าย คนที่เป็นผู้กู้ร่วมจำต้องรับผิดชอบหนี้สินดังกล่าวเต็มจำนวน ฉะนั้นก่อนที่คุณจะตกลงกู้ร่วมกันใคร มั่นใจเสียก่อนว่าคุณไตร่ตรองมาดีแล้ว บางทีหากคนที่มาขอให้คุณเป็นผู้กู้ร่วมอาจเป็นครอบครัว ซึ่งการปฏิเสธก็ยาก เพราะฉะนั้นคุณควรศึกษาสถานะทางการเงินของอีกฝ่ายให้ดีเสียก่อน
สิ่งที่คุณต้องถามตนเองคือ:
1. อีกฝ่ายไว้ใจได้แค่ไหน
ลองถามตนเองอย่างจริงจังว่าคุณไว้ใจผู้กู้แค่ไหน เขาเป็นคนแบบไหน อย่ากลัวการเสียเพื่อนเพราะหากเกิดอะไรขึ้น เงินที่คุณต้องรับผิดชอบอาจสูงจนกระทั่งคุณลำบาก อีกทั้งการตามทวงหนี้หรือการตามทวงเงินจากผู้กู้นั้นไม่ใช่เรื่องสนุก
2. ลิมิตของคุณมีเท่าไหร่
หากคุณตัดสินใจจะเซ็นเป็นผู้กู้ร่วม ในเมื่อคุณต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่อีกฝ่ายไม่จ่ายหนี้ คุณก็ควรมีสิทธิ์กำหนดลิมิตจำนวนหนี้สินที่คุณต้องจ่ายในกรณีที่อีกฝ่ายหนีหนี้ และอย่าลืมเก็บเอสารหลักฐานทุกอย่างเอาไว้ในกรณีที่คุณต้องใช้ในภายหลังหากเกิดอะไรขึ้น
การกู้ร่วมไม่ใช่เรื่องแย่ แต่คุณต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การช่วยเหลือผู้อื่นทำให้ตัวคุณเองเดือดร้อนและคุณไม่รู้หรอกว่าเมื่อไหร่คุณจะต้องการความช่วยเหลือบ้าง
ขอขอบคุณข้อมูล : Sanook
สนใจลงโฆษณากับทาง Homenayoo ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวันเฉลิม 086-1290293
ทางเราเป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูล ไม่ใช่เจ้าของโครงการนะครับ
แสดงความคิดเห็น