รีวิว : สอนตรวจบ้านขั้นเทพ ดูโครงสร้างให้เป็น บ้านจะได้ไม่พัง!
สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน วันนี้แอดมินมีบทความดีดี เกี่ยวกับการตรวจรับบ้านก่อนโอนจากคุณ Satan_Boat สมาชิก Pantip.com มาฝากกัน ซึ่งเจ้าของกระทู้ได้เขียนไว้ละเอียดมาก ลองติดตามเนื้อหาได้จากบทความด้านล่างเลยค่ะ
สวัสดีอีกครั้งนะครับ วันนี้เป็นตอนที่ 2 ที่จะพูดต่อกันเรื่องตรวจบ้าน ซึ่งจากตอนแรกที่พูดเรื่องการเตรียมตัว ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ขอบคุณทุกท่านที่มาอ่านโหวตให้กำลังใจนะครับผม
เอาล่ะ เข้าเรื่องเลยครับ แน่นอนครับว่าหลายคนที่เวลาจ้างตรวจบ้านมาตรวจ เหตุผลหลักๆที่ได้ยินก็คือ ดูโครงสร้างบ้านไม่เป็น อยากรู้ว่าโครงสร้างบ้านแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน อันอื่นก็ยังพอหยวน ๆ ได้ (อย่างอื่นพอหยวน ๆ ได้ จริงเหรอครับ ?? )
โอเคครับ ถ้าเรื่องโครงสร้างสำคัญแล้วเวลาผมไปตรวจบ้านผมดูอะไรบ้าง กระทู้นี้มีคำตอบแน่ ๆ แต่ก่อนเข้าเรื่องขอเปิดตัวแบบเร้าใจหน่อยครับ เลยขอลงรูปศิลปะเก๋ ๆ ของการถล่มของโครงหลังคาที่มีความแข็งแรงไม่เพียงพอ มาให้ดูว่างดงามแค่ไหนครับ
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจรูปแบบโครงสร้างบ้านในปัจจุบันกันก่อนครับ หลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
ที่มา : bhb.co.th
1. ระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิม (Conventional System)ก็คือโครงสร้างบ้านแบบมีฐานราก เสา คาน โดยมีการก่อผนังด้วยอิฐมอญ อิฐบล๊อก หรือ อิฐมวลเบา สุดแล้วแต่ที่ใจต้องการ โดยเรื่องอิฐ ผมจะมาพูดอีกทีในส่วนของการตรวจผนังนะครับ
โดยรูปแบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมนี้ โครงการขนาดเล็ก กลาง หรือบริษัทรับสร้างบ้านยังคงใช้ระบบนี้ เพราะว่า ระบบนี้ช่างก่อสร้างทั่วไปจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีครับ และพี่น้องคนไทยที่อายุเกิน 20 ปี แทบทุกคนน่าจะเคยอยู่บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างแบบนี้ครับ
โดยข้อเสียของการก่อสร้างรูปแบบดั้งเดิมคือ ใช้เวลาอย่างน้อยก็ 3-4 เดือน ในงานโครงสร้างกว่าจะได้มุงหลังคา
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังไม่บางบริษัท หล่อเสา คาน มาจากโรงงาน แล้วมาประกอบเป็นโครงหน้างาน แบบนี้ผมยังถือว่าเป็นโครงสร้างแบบดั้งเดิมเหมือนกันครับ เพียงแต่ล่นเวลาหล่อเสาคานครับ
ระบบโครงสร้างแบบหล่อสำเร็จมาก่อน ( Pre-Cast System) โครงสร้างระบบนี้ จะเหมือนการต่อเลโก้เลยครับ คือช่างก่อสร้างจะหล่อผนังเป็นชิ้นๆ มาจากโรงงาน และเจาะช่องสำหรับติดประตู หน้าต่าง ร้อยสายไฟมาเสร็จเรียบร้อยเลย และขนไปประกอบเป็นกล่องๆ ที่หน้างาน
ซึ่งระบบ Pre-cast นี้ เราจะไม่เห็นแนวเสา หรือแนวคานยื่นออกมาจากผนังครับ ข้อดีของระบบ Pre-Cast คือ ทำฐานรากเสร็จ 1 เดือน ก็พร้อมประกอบชิ้นส่วนที่หล่อมาจากโรงงาน เดือนครึ่งก็มุงหลังคาได้เลย ลดเวลา ประหยัดแรงงานก่อสร้าง
ระบบนี้จึงได้รับความนิยมในโครงการขนาดใหญ่ หลายๆบริษัทที่ทำบ้านจัดสรร จะมีโรงงานหล่อชิ้นส่วนบ้านเป็นของตัวเองเลยครับ
ส่วนข้อเสีย การปรับเปลี่ยนผนังภายในบ้านจะไม่สามารถทำได้ครับ เช่น ทุบผนังขยายห้องให้ใหญ่ขั้น หรือขนาดขนาดช่องหน้าต่างหรือประตูให้ใหญ่ขึ้น อันนี้หมดสิทธิ์เลยครับ
ส่วนทั้งสองระบบ เรื่องของอะไรทนแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่า แตกร้าวน้อยกว่า หรือกันน้ำรั่วได้มากกว่า ผมตอบเลยว่า ถ้าสร้างดีได้มาตรฐานตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้
โครงสร้างทั้ง 2 ระบบ ก็ทนแรงแผ่นดินไหวได้ ป้องกันไม่ให้แตกร้าวได้เหมือนกัน กันน้ำรั่วได้ดีเหมือนกัน ถ้าสร้างชุ่ยก็พังได้ทั้งคู่แหละครับ
ส่วนคำถามที่ว่าบ้านโครงสร้างปูนแบบนี้มีอายุการใช้งานกี่ปี ตอบได้เลยว่าโดยเฉลี่ยคือ 40-60 ปี แล้วแต่การดูแลรักษาครับ ถ้าเห็นรอยแตกร้าวที่เสาคาน ไม่รีบซ่อม ก็อาจจะอยู่ไม่ถึง 40 ปี ก็เป็นได้ครับ
ถามว่าแล้วบ้านปูนอายุเป็นร้อยปีมีไหมครับ ตอบเลยว่ามีเยอะครับ ทำไมบ้านปูนอยู่ได้นานจัง เพราะว่าปูนสมัยก่อนดีกว่าปูนสมัยนี้เหรอ เปล่าเลยครับ..
ในความเห็นของผม ผมคิดว่าน่าจะเกิดจากคุณภาพของการก่อสร้างมากกว่าครับ เพราะว่าประเทศไทยผลิตปูนซิเมนต์ได้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCG ในปัจจุบัน)
ก่อนหน้าที่จะผลิตได้ ในรัชกาลที่ 5 เราต้องสั่งปูนซิเมนต์มาจากสิงคโปร์ เหยดนี่ของนำเข้านะจ๊ะไม่ใช่ขี้ๆ ดังนั้น ช่างปูนสมัยก่อนนี่ต้องระดับเทพถึงจะมีสิทธิ์ในผสมปูนเลยทีเดียว
ดังนั้นคุณภาพการก่อสร้างจึงดีเว่อร์ ส่งผลให้โครงสร้างแข็งแรงอยู่ทนนาน ประกอบกับของแพงเจ้าของบ้านเลยดูแลรักษาดี จึงยิ่งอยู่ได้นานครับ
ตัวอย่างอาคารคอนกรีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการบูรณะใหม่ ที่มา : สมาชิก bloggang.com
เราเริ่มรู้คร่าว ๆ เกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างบ้านแล้วนะครับ ทีนี้สมมุติว่าเราไปดูบ้านแล้วอยากรู้ว่าโครงสร้างบ้านโอเคไหม เราดูจากอะไรครับ ต้องใช้ปืนทดสอบกำลังอัดคอนกรีตไหม?
ต้องมีเครื่องสแกนดูว่าเหล็กมีกี่เส้น เหล็กขนาดเท่าไหร่หรือเปล่า??
คำตอบคือ ทำได้ก็ดีครับ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งเครียดเพราะแค่ดูรอยร้าวก็พอจะรู้แล้วครับว่าโครงสร้าบ้าน โอหรือไม่โอครับ แล้วหลักการดูรอยร้าวว่าอันไหนอันตรายไม่อันตรายดูยังไง มาดูกันครับ
รูปการทดสอบกำลังอัดคอนกรีตหน้างานโดยวิธี Hammer test
ผมขอพูดถึงระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมก่อนเลยนะครับ จากรูปที่ผมจะโชว์นี้ ห้าม!!! มีในบ้านที่คุณจะอยุ่โดยเด็ดขาดเลยนะครับ ถ้าห้องแถวบ้านข้าง ๆ ก็ไม่ควรมีเลยนะครับ
รอยร้าวอันตรายอันดับที่ 1.1 ห้ามเห็นโดยเด็ดขาด คือ รอยร้าวทะแยง ซึ่งหมายถึงโครงสร้างบ้านมีการทรุดตัวรุนแรงพร้อมถล่มได้ทุกเมื่อ หากพบรอยร้าวนี้ ให้รีบย้ายออกไปแล้วติดต่อวิศวกรรมสถานมาตรวจสอบทันทีครับ
รอยร้าวอันตรายอันดับ 1.2 จะเป็นรอยร้าวที่เกิดที่เสาบ้านครับ จริงๆ รอยร้าวบนเสามีหลายแบบ แต่ที่อันตรายสุดๆ คือ รอยร้าวที่แตกเหมือนเม็ดข้าวโพดทุก 4 มุม เหมือนในรูปครับ
แสดงว่า เสารับน้ำหนักไม่ไหวแล้วพร้อมถล่มทุกเมื่อ ให้รีบออกมาจากตัวบ้านให้เร็วที่สุด
รูปของการเทคอนกรีตไม่เต็มแบบหล่อ พอแกะออกมาเลยมีเนื้อปูนไม่เต็ม
ส่วนรอยร้าวที่ผมเจอบ่อยที่เสาจะเป็นรอยร้าวที่เกิดจากการฉาบปูนหนาไปครับ ซะส่วนใหญ่เลย รูปนี้ผมเป็นคนถ่ายเองครับ
นอกจากนั้น รอยร้าวพวกนี้ไม่ควรที่จะเห็นในบ้านที่เรากำลังจะซื้อเด็ดขาดเลยครับ
ส่วนรอยร้าวที่จะแสดงให้ดูเป็นรอยร้าวที่สามารถแก้ไขได้ ครับ เป็นรอยร้ายที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้าง ได้แก่
เมื่อพิจารณาบ้านที่เป็นระบบโครงสร้างแบบ Pre Cast นั้น รอยร้าวที่ผมเห็นแทบทั้งหมด จะเป็นรอยร้าวที่มุมวงกบหน้าต่าง เป็นรอยเล็กๆ จากปูนฉาบมากกว่าครับ ดังแสดงในรูป ซึ่งแก้ไขไม่ยากไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างครับ
แต่หากบ้านระบบ Pre Cast โดยสังเกตุเห็นร้อยร้าวไม่ว่าบริเวณส่วนไหนของบ้านของบ้าน เกิดการฉีกออกจากกัน โดยดูง่าย ๆ ว่า บัตรเครดิตสามารถเสียบลอดเข้าไปในร่องได้ (ซึ่งมีความหนามากกว่า 3 มิลลิเมตร)
อย่างนิ่งนอนใจครับ ให้รีบแจ้งทางโครงการที่ก่อสร้างหรือวิศวกรรมสถานมาตรวจดูจะดีกว่าครับ
หลักๆ ที่ผมใช้เพื่อประเมินสภาพโครงสร้างผมก็จะดูจากรอยร้าวตามที่ได้อธิบายนี้เป็นหลักครับ ดูมาเยอะแล้วครับ มั่นใจได้ถึงความถูกต้อง
นอกจากนี้ผมยังมีรูปสวย ๆ ที่เกี่ยวข้องการวิบัติของโครงสร้างจากแรงแผ่นดินไหว มาให้ชมด้วยครับ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : คุณ Satan_Boat สมาชิก Pantip.com
สนใจลงโฆษณากับทาง Homenayoo ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวันเฉลิม 086-1290293
ทางเราเป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูล ไม่ใช่เจ้าของโครงการนะครับ
แสดงความคิดเห็น