แนวทางเลือกซื้อ “ปั๊มน้ำ” ให้ประหยัดพลังงาน สำหรับการใช้ภายในบ้าน
“ปั๊มน้ำ” ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายกันมานาน และมีพัฒนาการเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ที่ homeWorks “ปั๊มน้ำ” นับเป็นอีกหนึ่งสินค้าขายดีที่เราคัดเอาสินค้าคุณภาพ เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภทมาเพื่อลูกค้าของเรา
Home@homeWorks ฉบับนี้ จะพาไปรู้จักปั๊มน้ำแต่ละแบบและวิธีการเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดย คุณเสกศักดิ์ นาคขวัญ ผู้เชี่ยวชาญแผนกปั๊ม จาก homeWorks สาขาบางนา
ปั๊มน้ำที่เราจำหน่ายมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ, ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ, ปั๊มหอยโข่ง และปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ ซึ่งแต่ละแบบจะมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไป
ปั๊มก็หยุดทำงาน ขนาดของปั๊มน้ำอัตโนมัติมีตั้งแต่ 100-400 วัตต์ สำหรับ 100–150 วัตต์ เหมาะกับบ้านที่มีผู้อาศัย 2-3 คน แต่ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ปัจจุบันจะมีปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบพิเศษ เช่น ยี่ห้อฮิตาชิ รุ่นอินเวอร์เตอร์ ขนาด 400 วัตต์ และ 700 วัตต์ ตัวนี้จะควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า มีจอมอนิเตอร์และระบบอิเล็กทรอนิกคำนวณการใช้น้ำ
เช่น ปั๊ม 400 วัตต์ ถ้าเราเปิดใช้น้ำแค่จุดเดียวจะกินไฟแค่ 100 วัตต์ เปิดน้ำพร้อมกัน 4 จุด จะกินไฟ 400 วัตต์ เปรียบเทียบกับปั๊มทั่วไปขนาด 200 วัตต์ เปิดน้ำจุดเดียวก็กินไฟ 200 วัตต์ทันที ดังนั้นระบบอินเวอร์เตอร์จึงช่วยเราประหยัดไฟมากกว่า
ปั๊มอัตโนมัติ จะมีอยู่ 2 แบบ แบบที่ 1 ปั๊มมีถังแรงดันอากาศ แบบที่ 2 ปั๊มแรงดันคงที่ สำหรับปั๊มมีถังแรงดันอากาศ ข้อดีคืออายุการใช้งานนานกว่า แต่ข้อเสียคือตัวถังทำด้วยเหล็กแล้วเคลือบด้านใน พอใช้ไปนานๆ ด้านในจะเป็นสนิม เวลารั่วต้องเปลี่ยนถังใหม่ แต่ปัจจุบันมีเฉพาะตัวถังขาย ถ้ามอเตอร์ไม่เสียก็เปลี่ยนแต่ถัง
ส่วนปั๊มแรงดันคงที่ ข้อดีคือถ้าเราเปิดน้ำ 4 จุดพร้อมกัน แรงดันน้ำจะไหลเท่ากันทั้ง 4 จุด ไม่ว่าก๊อกน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ถ้าเทียบทั้งสองแบบที่วัตต์เท่ากัน ปั๊มแรงดันอากาศจะดึงน้ำได้แรงกว่า ส่วนใหญ่เราแนะนำให้ลูกค้าใช้ถังแบบแรงดันอัดอากาศ เพราะปัจจุบันหลายยี่ห้อทำเป็นถังสแตนเลส อายุการใช้งานยาวขึ้น เพราะจะรับประกันถึง 5 ปี แต่สามารถใช้จริงได้เป็น 10 ปีเลย
ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ เหมาะสำหรับการดึงน้ำ เช่น ดึงน้ำท่วมบ้าน ดึงน้ำจากบ่อ ปั๊มจุ่มจะมีให้เลือกหลายขนาด ถ้าเราต้องการให้ดึงน้ำเร็วต้องใช้ตัวที่วัตต์สูง เช่น 200 -250 วัตต์ แต่ถ้าไม่ต้องการดึงน้ำมากๆ ใช้วัตต์น้อยๆ ก็จะประหยัดได้ด้วย ในการใช้งานต่อเนื่องจะใช้ได้แค่ 7 ชั่วโมง ถ้าเกินจากนั้นปั๊มจะร้อนจัดทำให้มอเตอร์ตัดและใบพัดล็อค เราต้องถอดใบพัดออกมาหมุนกลับเข้าไปใหม่ ก็จะใช้งานได้เหมือนเดิม
จุดนี้บางครั้งลูกค้าไม่ทราบ เอาไปเปิดทั้งวันทั้งคืน พอปั๊มล็อคก็นึกว่าปั๊มเสีย จริงๆ แล้วปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่จะต้องสลับกันใช้ สำหรับปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่จะมีอยู่ 2 แบบเช่นกัน แบบที่ 1 มีลูกลอย พอจุ่มน้ำสูงลูกลอยจะลอยขึ้น พอดูดน้ำหมดลูกลอยก็จะจมลงปั๊มก็ตัดอัตโนมัติ แบบที่ 2 ไม่มีลูกลอย ต้องเปิด-ปิดสวิทช์เอง
ปั๊มหอยโข่ง เหมาะกับการดึงน้ำเก็บใส่ถัง เหมือนที่ใช้ในการเกษตรคือส่งน้ำไปไกลๆ หรือดึงน้ำขึ้นไปบนอาคารสูงๆ เพราะปั๊มหอยโข่งจะมีแรงม้าสูง มี 1 แรงม้า 2 แรงม้า แต่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ ตัวนี้เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนานๆ
ปั๊มกึ่งอัตโนมัติ จะคล้ายๆ กับปั๊มอัตโนมัติ แต่เราต้องเปิด-ปิดสวิทช์ หรือเสียบปลั๊ก-ถอดปลั๊กใช้งานเอง ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยม ลูกค้าส่วนใหญ่จะนิยมแบบอัตโนมัติไปเลย
เลือกปั๊มเหมาะกับงานจะช่วยประหยัดเงิน การเลือกใช้ปั๊มน้ำนั้น ถ้าใช้ในบ้านเราต้องดูจากจำนวนผู้อยู่อาศัยว่าอยู่กันกี่คน เช่น ทาวเฮาส์ 2 ชั้น จะมีแค่ 2-3 ห้องน้ำ เลือกใช้ปั๊มขนาด 100-150 วัตต์ก็พอ หรือถ้าไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น เลือกใช้แค่ 100 วัตต์ เราก็สามารถเปิดน้ำพร้อมกันได้ 2-3 จุด
แต่ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเพิ่มเป็น 150 วัตต์ เพราะจะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำอุ่นหรือเมื่อเราเปิดก๊อกน้ำหลายจุดพร้อมกัน แล้วถ้าเป็นลูกค้าบ้านเดี่ยวอยากแนะนำให้ใช้ปั๊มขนาด 200–250 วัตต์ เพราะจะเปิดพร้อมกันได้ถึง 5-6 จุด หรือถ้าติดเครื่องทำน้ำอุ่นถึง 3 ห้องน้ำ ขอแนะนำให้ใช้แบบ 250 วัตต์ เพราะจะดีตรงที่ช่วยประหยัดไฟ
อีกอย่างที่ช่วยให้ประหยัดไฟคือการเลือกใช้ฝักบัว ฝักบัวที่น้ำออกมาเป็นฝอยจะช่วยประหยัดน้ำ แต่ถ้าเป็นฝักบัวแบบที่เปิดแล้วน้ำออกมาเป็นสายอย่างนี้จะเปลืองน้ำกว่า ไม่ประหยัดน้ำเพราะน้ำจะไหลออกมาเร็วเกินไป และกินไฟมากขึ้นเพราะมอเตอร์ปั๊มน้ำจะทำงานต่อเนื่องไม่ตัด ฉะนั้นการที่เราเลือกฝักบัวหรือสายฉีดชำระที่มีความละเอียดเวลาน้ำออกมา มอเตอร์จะไม่ทำงานหนักเพราะตัดได้บ่อยไม่ทำงานต่อเนื่อง แบบนี้จะดีในการเลือกใช้
ติดตั้งปั๊มถูกวิธีช่วยประหยัดพลังงาน ในการติดตั้งปั๊มน้ำ เราไม่แนะนำให้ติดตั้งแบบดึงตรง (by pass) แนะนำให้ต่อกับแท็งก์น้ำ (ติดตั้งแท็งก์น้ำเพิ่ม) แล้วให้ปั๊มดึงน้ำจากแท็งก์เข้าบ้าน ตรงนี้จะช่วยประหยัดไฟกว่าเป็นพิเศษ อีกอย่างคือการติดตั้งแท็งก์น้ำจะช่วยให้น้ำใช้หรือน้ำฝักบัวของเราไม่มีตะกอน
เพราะเวลาที่น้ำเข้าแท็งก์ตัวตะกอนจะตกลงก้นแท็งก์ก่อน เวลาใช้ปั๊มดึงก็จะได้น้ำสะอาดออกมา ทีนี้ก็ช่วยประหยัดน้ำ-ประหยัดไฟได้เยอะ ที่สำคัญ ที่โฮมเวิร์คเรามี Special Services บริการติดตั้งปั๊มน้ำโดยทีมช่างผู้ชำนาญงาน รับรองความสะดวก ปลอดภัย มั่นใจกว่า…
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : HomeWork
สนใจลงโฆษณากับทาง Homenayoo ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวันเฉลิม 086-1290293
ทางเราเป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูล ไม่ใช่เจ้าของโครงการนะครับ
แสดงความคิดเห็น