เรื่องต้องรู้! คุณควรได้รับการชดเชยยังไง ถ้าถูกยกเลิกเที่ยวบิน
เกิดเป็นเหตุวุ่นวาย และบานปลาย เมื่อสายการบินนกแอร์ได้ทำการยกเลิกเที่ยวบินกระทันหันจำนวน 9 เที่ยวบิน ในวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารมากถึงกว่า 2,000 คน จนทำให้ข้อถกเถียงมากมายถึงการรับผิดชอบของสายการบิน และมาสู่การบริหารงานภายในขององค์กร
“ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” ขอนำข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคที่ต้องเผชิญกับการยกเลิกเที่ยวบินเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกสายการบินปฏิเสธการขนส่ง
ตามประกาศของกระทรวงคมนาคมเรื่องสิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศคุณควรได้รับการชดเชยอย่างไรในฐานะผู้บริโภค ต่อกรณี
1. ถูกยกเลิกเที่ยวบิน (Fight Cancellation) คือ การที่สายการบินยกเลิกการบินเที่ยวบินใดๆ ตามตารางการบินที่ประกาศไว้ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกเที่ยวบินพิเศษ (Extra Flight) กรณีนี้ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินหรือเดินทางวิธีอื่น พร้อมทั้งการดูแลค่าที่พักพร้อมรับ-ส่งสนามบิน รวมทั้งได้รับเงินชดเชย 1,200 บาท (ดูรายละเอียดจาากตารางข้างล่าง)
2. ถูกสายการบินปฏิเสธการขนส่ง (Denied Boarding) คือ การที่สายการบินปฏิเสธที่จะรับผู้โดยสารเพื่อเดินทางไปกับเที่ยวบินที่ระบุไว้ในบัตรโดยสาร แม้ว่าผู้โดยสารจะได้มาแสดงตนเพื่อการขึ้นเครื่อง(Check in) ภายในระยะเวลาที่สายการบินระบุไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแจ้งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่น เว็บไซต์ หรือ เอสเอ็มเอส(SMS) ฯลฯ หรือถ้ายสายการบินไม่ได้ระบุเวลาไว้ ให้ถือเวลาไม่น้อยกว่า 45 นาทีก่อนเวลาที่ระบุไว้ในตารางการบินที่ประกาศ
3. เที่ยวบินล่าช้า (Filght Delay)
คือ กรณีทำการบินเที่ยวบินล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดในตารางการบินที่ประกาศไว้เกินควร
มาดูกันว่า คุณควรได้รับการชดเชยอย่างไรตามสิทธิ ข้างล่างนี้
ทั้งนี้ กรณีที่สายการบินไม่ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองสิทธิฯขั้นพื้นฐานนี้ ผู้โดยสารสามารถร้องเรียนได้ที่ กรมการบินพลเรือน (กรมการขนส่งทางอากาศเดิม) เลขที่ 71 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: 02-287-0320-9 โทรสาร: 02-286-3373
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : ประชาชาติธุรกิจ
สนใจลงโฆษณากับทาง Homenayoo ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวันเฉลิม 086-1290293
ทางเราเป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูล ไม่ใช่เจ้าของโครงการนะครับ
แสดงความคิดเห็น