Tags : ผู้รับเหมา

ผู้รับเหมาขอเล่าบ้าง! ประสบการณ์ฟ้องเจ้าของบ้าน ศาลตัดสินชนะคดี (ซะด้วย) ไม่ใช่จะมีแต่เจ้าของบ้าน ที่ออกมาด่าผู้รับเหมาได้อย่างเดียว

โพสเมื่อ : 1 December 2015 | 3 Comments

ผู้รับเหมาขอเล่าบ้าง! ประสบการณ์ฟ้องเจ้าของบ้าน ศาลตัดสินชนะคดี (ซะด้วย) ไม่ใช่จะมีแต่เจ้าของบ้าน ที่ออกมาด่าผู้รับเหมาได้อย่างเดียว วันนี้มาเล่าข้อพิพาท ระหว่าง ผู้รับเหมา กับ เจ้าของบ้านครับ จากที่เคยติดไว้มาพักนึง วันนี้ศาลตัดสินละครับ ผมจะเล่าตั้งแต่ต้นนะครับ แต่จะให้กระชับที่สุดแบบไม่น่าเบื่อ .. จากที่ผมได้รับงานบ้านหลังนึงขนาดเกือบ 300 ต.ร.ม. จากสมาชิกในเพจๆนึง ใช้ชื่อว่า คุณนาย…. (ปัจจุบันได้บล๊อกเฟสผมไปแล้ว และไม่รู้ว่าได้เปลี่ยนชื่ออื่นมาเข้าเพจอยู่หรือเปล่า) ได้มีการว่าจ้างผมสร้างบ้านให้ตกลงราคาที่ 3.3 ล้านบาท ( แบ่งจ่ายเป็นตัวเลขกลมๆที่งวดละ สามแสนบาท

3 เทคนิคเลือก “ผู้รับเหมา” ให้ถูกใจ จะได้น้ำตาไม่ไหลเรื่องสร้าง “บ้าน”

โพสเมื่อ : 1 December 2015 | No Comments

3 เทคนิคเลือก “ผู้รับเหมา” ให้ถูกใจ จะได้น้ำตาไม่ไหลเรื่องสร้าง “บ้าน” 1.ตรวจสอบชื่อเสียงของผู้รับเหมารายนั้นก่อน เดี๋ยวนี้การตรวจสอบคุณภาพของผู้รับเหมาแต่ละรายทำได้ง่ายขึ้นวิธีการหนึ่งอาจสอบถามจากคนที่เคยใช้บริการ หรือเสิร์ชหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หากเขามีชื่อเสียงที่ดี ชื่อบริษัทของเขาก็จะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์อย่างกว้างขวาง 2.อย่าหลงไปกับราคา บางคนหลับหูหลับตาเลือกผู้รับเหมาเพราะราคาถูก อาจจะเช็คราคาจากผลงานของเขาที่ผ่านมา แล้วประเมินว่าคุณจะสามารถจ่ายเงินสำหรับการสร้างบ้านของคุณได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นลองดูว่าระบบการจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาเป็นอย่างไร เช่นจ่ายเงิน 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเซ็นสัญญาแล้วจ่ายอีก 25 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะดำเนินการ และจ่ายส่วนที่เหลือเมื่อบ้านเสร็จ แบบนี้เป็นต้น 3.มองหาบริษัทรับออกแบบและก่อสร้างที่คุณสะดวกใจในการเจรจา การเจรจาเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมาก เพราะบ้านของคุณไม่ได้เสร็จเพียงชั่วข้ามคืน พวกเขาจะต้องอยู่ในพื้นที่สร้างบ้านของคุณเป็นเวลานาน ดังนั้นการเลือกผู้รับเหมาและทีมงานที่เจ้าของบ้านสามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ย่อมเป็นผลดีต่อการสร้างบ้านของคุณ ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ