Tags : กระดาษทิชชู่

เรื่องน่ารู้! คุณไม่ควรใช้ “กระดาษทิชชู่” เช็ดอะไรบ้าง ?

โพสเมื่อ : 17 February 2016 | No Comments

เรื่องน่ารู้! คุณไม่ควรใช้ “กระดาษทิชชู่” เช็ดอะไรบ้าง ? 1.บางชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เพราะมันมีความละเอียดอ่อนอาจได้รับความเสียหายโดยง่าย เช่นหน้าจอสมาร์ทโฟนกระดาษทิชชูมีผิวสัมผัสมันจะทำลายผิวหน้าจอ ดังนั้นคุณควรใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ช่วยในการทำความสะอาดหน้าจอหรือรอยเปื้อน ส่วนการทำความสะอาดที่ลึกซึ้งนั้นคุณอาจใช้แอลกอฮอลล์เช็ดทำความสะอาด ซึ่งมันจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย 2.แว่นตา เราไม่แนะนำให้คุณใช้กระดาษทิชชูเช็ดทำความสะอาดแว่นตา เพราะมันจะสร้างความเสียหายให้กับผิวภายนอกเลนส์โดยเฉพาะเมื่อเลนส์นั้นมีการเคลือบเป็นอย่างดี กระดาษที่แห้งจะสร้างรอยขีดข่วนบนเลนส์แว่นตาได้ง่าย วิธีทำความสะอาดแว่นตาที่เหมาะสมคือการใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดแว่นตาโดยเฉพาะ 3.คราบหกบนพรม เมื่อมีของหกเรามักนึกถึงการใช้กระดาษทิชชูเป็นอย่างแรกเนื่องจากมันสะดวก แต่ถ้ามีน้ำหกลงบนพรม การใช้กระดาษทิชชูซับน้ำที่หกนั้นกลับทำให้คราบหรือรอยเปื้อนนั้นฝังแน่น วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด แต่อย่าถู เพราะมันจะทำให้รอยเปื้อนนั้นยิ่งกระจายตัวออกไป 4.เฟอร์นิเจอร์ไม้ คุณอาจไม่ทราบก็ได้ว่ากระดาษทิชชูสร้างฝุ่น อีกทั้งมันยังสร้างรอยขีดข่วนบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ วิธีทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดีที่สุดคือการใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดทำความสะอาด 5.เสื้อผ้าสีดำ การใช้กระดาษทิชชูเช็ดคราบสกปรกบนชุดดำกลับเป็นการทิ้งเยื่อกระดาษทิชชูติดไว้บนเสื้อผ้า

สุดทึ่ง…เทคโนโลยีการผลิตกระดาษทิชชูของจีน

โพสเมื่อ : 16 December 2014 | No Comments

สุดทึ่ง…เทคโนโลยีการผลิตกระดาษทิชชูของจีน เพิ่งจะรู้ว่ากระบวนการผลิตกระดาษทิชชูนี่มันเป็นอย่างนี้นี่เอง…ไม่รู้ว่าทิชชูที่เราใช้อยู่มันจะมาจากที่นี่บ้างหรือเปล่า.. แต่ยังไงพวกเราก็ใช้กันอย่างประหยัดนะครับ จะได้ลดมลพิษและภาวะโลกร้อน 1.เยี่ยมชม โรงงานผลิต 2.กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ..จักรยาน.. 3.ตรวจสอบวัตถุดิบ.. 4.คัดแยกวัตถุดิบ..แรงงานคนล้วนๆ.. 5.นำวัตถุดิบมาตี ให้เกิดเป็นเยื่อกระดาษ 6.นำเยื่อกระดาษมาปั่นกับน้ำ 7.นำมารีดน้ำออก 8.นำเยื่อกระดาษมารีดเป็นแผ่น อันนี้น่าจะเป็นเตาอบที่ให้ความร้อนตอนรีด 9.นำกระดาษทิชชูที่ได้มาม้วน 11.ขั้นตอนการเตรียมแกนในของกระดาษทิชชู 12.นำกระดาษทิชชูที่ได้มาตัดตามขนาดที่ต้องการ 13.บรรจุหีบห่อ..ภายใต้การควบคุมคุณภาพ(ของอาเฮียเจ้าของโรงงาน) บรรจุหีบห่อเพื่อเตรียมส่งขาย..(มายังประเทศไทยหรือเปล่า..อันนี้ไม่รู้ค่ะ) พนักงานทำงานกันอย่างขะมักเขม้น ทิชชูที่แพ็คเสร็จแล้วและรอการส่งขายไปยังที่ต่างๆ.. เสร็จสิ้นกระบวนการผลิต.. กระบวนการบำบัดน้ำเสีย.. คือการปล่อยลงสู่ธรรมชาติ…เพื่อให้ธรรมชาติเป็นผู้บำบัด ผู้รับกรรมคือชาวบ้านรอบๆโรงงาน.. ขอบคุณแหล่งที่มา oknation