Tags : กู้ร่วม

กู้ร่วมซื้อบ้านกันแต่หย่า แล้วต้องทำอย่างไรต่อไป เรามีคำตอบ!

โพสเมื่อ : 2 February 2016 | No Comments

กู้ร่วมซื้อบ้านกันแต่หย่า แล้วต้องทำอย่างไรต่อไป เรามีคำตอบ! การแต่งงานและการหย่าร้างดูจะเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยไปเสียแล้วในปัจจุบัน และไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ภาวการณ์หย่าร้างที่สูงขึ้นนั้นมีมากขึ้นในทุกประเทศเลยทีเดียว และแน่นอนว่าการแต่งงานนั้นแม้จะเริ่มขึ้นจากความรักก็จริง แต่ก็ทำให้เราค่อยเอาชีวิตด้านอื่นๆเข้ามารวมกันจนในที่สุดเราก็มีความสัมพันธ์ในส่วนอื่นๆของชีวิตมากมายเต็มไปหมด วันนี้เราจะมาพูดถึงความสัมพันธ์เรื่องหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเริ่มสร้างครอบครัวแล้วอย่างการซื้อบ้านนั่นเอง แน่นอนว่าหลายคนก็คงจะมีปัญหานี้เหมือนกันใช่ไหมเอ่ย กู้ร่วมซื้อบ้านกันแต่หย่า ยังผ่อนไม่ทันหมดก็มามีปัญหาการหย่าร้างเสียก่อนนี่สิ ทำเอากลุ้มกันเลยทีเดียว วันนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกันค่ะ ซึ่งการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยหลังจากแต่งงานนั้นมักจะเป็นการกู้ร่วมกัน เพื่อให้ได้เงินในวงเงินที่สูงขึ้นนั่นเอง และการส่งเป็นรายเดือนก็จะต่ำลงด้วย แต่ถ้าหากว่าความรักมันจบลงไปแล้วเกิดการหย่าร้างขึ้นมานั้น ภาระหนี้สินด้านกู้เงินซื้อบ้านนั้นมันไม่ได้จบลงไปด้วย ตัวสัญญาการซื้อบ้านก็ยังคงมีผลตามกฎหมายอยู่ดีไม่แต่จบลงไปด้วย แล้วอย่างนี้การส่งบ้านจะต้องทำอย่างไรกันต่อไป ? นั่นคือเรื่องที่เราจะมาคุยกันในวันนี้นั่นเอง ซึ่งหลายคู่มักจะมีปัญหาถกเถียงกันอยู่บ่อยๆ ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของเงินกู้ส่วนนี้ แต่วันนี้คุณจะไม่ต้องถกเถียงกันอีกแล้วค่ะ อย่างแรกที่ต้องเข้าใจก็คือบ้านนั้นต้องส่งต่อไป ห้ามหยุดเด็ดขาดเพราะดอกเบี้ยเงินกูของบ้านนั้นเดินไปเรื่อยไม่หยุดตามความรักและการหย่าร้างที่เกิดขึ้น ยิ่งไม่ส่งนานเท่าไหร่เงินค่าบ้านก็จะเพิ่มขึ้นมาเท่านั้น แถมเครดิตเรื่องการชำระหนี้ของทั้งคู่อาจจะย่ำแย่ไปจนถึงการขึ้น

blank

อยากถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน” ทำอย่างไรดี?

โพสเมื่อ : 1 December 2015 | No Comments

อยากถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน” ทำอย่างไรดี? ทางออกเมื่อต้องการถอนชื่อผู้กู้ร่วม (TerraBKK) ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ต้องการขอสินเชื่อจำนวนมากแต่มีฐานเงินเดือนน้อย คือ การกู้ร่วม ซึ่งจะเป็นการหาผู้อื่นมาเสริมรายได้และความรับผิดชอบต่อหนี้ ซึ่งสถาบันการเงินมักกำหนดให้บุคคลที่มีชื่อกู้ร่วม เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กู้ ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นพ่อแม่กู้ร่วมกับลูก จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหามักเกิดในกรณีที่เป็นบุคคลอื่นกู้ร่วมกัน เช่น พี่น้อง สามีภรรยาที่ภายหลังเลิกรากัน หรือในกรณีอื่น ๆ ตามแต่เงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด การหาทางถอนชื่อผู้กู้ร่วมออก จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อย ๆ แต่เมื่อยื่นเรื่องติดต่อไปที่สถาบันการเงินมักได้รับการปฏิเสธ เพราะในการยื่นขอสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินได้ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระจากฐานรายได้ของสองคน หากขาดคนใดคนหนึ่งก็ก็เท่ากับว่าผิดจากเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก แม้การถอนชื่อผู้กู้ร่วมจะไม่สามารถทำได้ แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสียทีเดียว ทางออกสำหรับปัญหานี้คือการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่น